Search Results for : %E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%A3%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%94%E0%B8%B5

มีปัญหาใต้ตาดำ จำเป็นต้องใช้อายครีมไหม

เคยสงสัยไหมว่า จริง ๆ แล้ว อายครีม จำเป็นแค่ไหนที่ต้องใช้ คุ้มค่าไหมที่จะซื้ออายครีมมาใช้ วันนี้เรามาหาคำตอบกัน

เทคนิคการนอนหลับฉบับนักบินอวกาศ NASA 

การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอนับว่าเป็นเรื่องไม่ดีต่อสุขภาพ แล้วยังทำให้ระบบชีวิตในวันนั้นรวนไปด้วยเช่นกัน จนอาจเสี่ยงเป็นอันตรายต่อชีวิตได้เลยทีเดียว อย่างถ้านอนไม่พอแล้วเกิดหลับโดยไม่รู้ตัวขณะขับรถ หรือขณะที่ทำงานกับเครื่องจักร ย่อมก่อให้เกิดอันตรายทั้งต่อตนเองและผู้อื่นได้อย่างแน่นอน และถ้าหากนอนไม่พอสะสมไปเรื่อย ๆ ยังทำให้เป็นต้นเหตุของการเกิดป่วยด้วยโรคเรื้อรังอื่น ๆ ได้อีกด้วย แต่บางครั้งก็เลี่ยงไม่ได้เนื่องด้วยปัจจัยต่าง ๆ เช่น การเดินทางที่มี time zone ต่างกัน หรือมีเรื่องรบกวนจิตใจ เป็นต้น  เราจึงจะมาชวนดูเทคนิคการนอนหลับให้มีคุณภาพฉบับนักบินอวกาศนาซ่ากันว่าเขาสามารถนอนหลับได้อย่างไร ในขณะที่ต้องทำงานอยู่บนสถานีอวกาศนานาชาติ แล้วต้องเจอกับสภาพแวดล้อมที่ต่างจากตอนอยู่บนพื้นโลกอย่าง พระอาทิตย์ขึ้นถึง 16 ครั้ง / วัน รวมถึงการนอนในสภาวะไร้น้ำหนักในบางช่วงเวลา ซึ่งเทคนิคการนอนหลับที่เราจะนำมาฝากนั้น สามารถใช้ได้แม้แต่กับคนนอนหลับยาก ว่าแล้วไปดูกันเลยดีกว่า กำหนดเวลานอนและตื่นให้ชัดเจน  ปกติร่างกายของเราจะมีระบบ “นาฬิกาชีวิต” ควบคุมการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกายอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นการหลั่งฮอร์โมน การกิน การตื่น หรือการนอน ดังนั้นเมื่อเรานอนไม่เพียงพอ หรือไม่ได้นอน ระบบนาฬิกาชีวิตที่ว่านี้ก็จะผิดปกติไปด้วย ดังที่เรามักจะได้ยินหรือพูดกันบ่อย ๆ ว่า นาฬิกาชีวิตรวน และมันจะส่งผลต่อร่างกายอย่างเห็นได้ชัด คือ มีความเหนื่อยล้า ทรุดโทรม และกลายเป็นโรคนอนไม่หลับ  อย่างในสถานีอวกาศใช้เวลา […]

วิธีการจัดระเบียบชีวิตเพื่อความสุข ต้องรู้จักบริหารเวลาให้เป็น 

“เวลา” เป็นสิ่งที่มีค่าและเป็นทรัพยากรที่จำกัด เนื่องจากไม่สามารถย้อนเวลากลับไปจัดการสิ่งต่าง ๆ ได้ และมักจะมีบ่อยครั้งที่ได้ยินคนบ่นว่า ไม่มีเวลา ทั้งที่ไม่มีใครมีเวลามากกว่าหรือน้อยกว่า 24 ชั่วโมง ทุกคนมีเวลาเท่า ๆ กัน ไม่ว่าจะเป็นวันนี้ วันพรุ่งนี้ หรือจะเป็นวันไหนก็ตาม แต่ที่ไม่เท่ากันคือ การจัดการเวลาอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งผู้ที่จัดระบบความคิด จัดระเบียบชีวิตได้ดี จะรู้จักแบ่งเวลาได้อย่างเหมาะสม เพราะจะช่วยให้ระบบชีวิตในแต่ละวันมีแบบแผนมากยิ่งขึ้น ช่วยให้บรรลุเป้าหมายในแต่ละวันได้ง่ายขึ้น ในขณะที่คนบริหารเวลาไม่เป็นมักจะพลาดโอกาสในการสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้อย่างน่าเสียดาย  การจัดระเบียบเวลาและใช้ให้คุ้มค่า จะได้ไม่รู้สึกเสียดายเมื่อมองย้อนกลับมา เพราะฉะนั้นเรามาวางแผนการบริหารเวลากันดีกว่า เพื่อให้ประสบความสำเร็จในเป้าหมายควบคู่ไปกับการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข  1. วางแผนในแต่ละวัน  การจะสำเร็จทุกอย่างในชีวิต เริ่มจากความคิดที่เป็นระเบียบ ด้วยการวางแผนก่อนเริ่มต้นวันใหม่ในแต่ละวัน ซึ่งอาจลิสต์รายการที่ต้องการจะทำไว้ล่วงหน้า หรือหลังตื่นนอนในวันนั้นเลย แล้วแต่ความสะดวกของรายบุคคล โดยวางแผนว่ามีเป้าหมายที่จะทำในแต่ละวันว่ามีอะไรบ้าง โดยเริ่มจากสิ่งสำคัญและเร่งด่วนมากที่สุดก่อน เพราะสมองและร่างกายจะมีพลังมากที่สุดหลังจากได้รับการพักผ่อนมาแล้วตลอดคืน เช่น มีนัดประชุม ตรวจสอบเอกสาร หัวข้อ และอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการประชุม หรือวางแผนจะมีสุขภาพที่ดี ก็วางแผนและเขียนจะกินอาหารที่มีประโยชน์อย่างไร ออกกำลังกายอย่างไรในวันนี้ และเมื่อจบวันก็นำแผนที่วางไว้มาเปรียบเทียบกับผลที่เกิดขึ้นจริง ว่าได้ทำตามแผนครบทุกอย่างหรือไม่ มีอะไรที่ปรับเพื่อให้บรรลุเป้าหมายได้อีกบ้าง  2. ตื่นเช้าให้มากขึ้น เพื่อจะได้มีเวลาทำกิจกรรมได้มากขึ้น  หลายคนคงรู้ดีอยู่แล้วว่าการตื่นตอนเช้าหลังจากได้นอนหลับเต็มอิ่มมีประโยชน์อย่างไร ซึ่งนอกจากช่วยให้มีสมาธิดี […]

หายจากโควิดแล้วแต่ยังมีอาการไอ สามารถแพร่เชื้อให้คนอื่นได้ไหม

จะมีการถอดโควิด-19 จากโรคติดต่ออันตราย แล้วย้ายไปอยู่ในหมวดโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558 โดยมีผลวันที่ 1 ตุลาคม 2565 ที่จะถึงนี้แล้ว แต่ก็อาจยังมีอีกหลายคนที่สงสัยว่าคนที่เคยติดโควิด19 แม้จะหายป่วยแล้ว แต่ยังมีอาการไอเรื้อรัง แถมลากยาวไม่หายเสียที ทำให้ห่วงว่าเชื้อโควิดลงปอดไหม หรือเป็นเพียงแค่อาการลองโควิด (Long Covid) เท่านั้น และถ้ายังไออยู่จะสามารถแพร่เชื้อให้คนอื่นได้ไหม โดยเฉพาะเมื่อต้องกลับไปทำงานในห้องแอร์ที่เป็นระบบปิด เรามาหาคำตอบพร้อมกันเลยดีกว่า  อย่างที่รู้กันดีว่าโรคระบาดโคโรนาไวรัสเป็นโรคติดต่อทางระบบทางเดินหายใจ และการไอนั้นเป็นสัญลักษณ์อันเด่นชัดของอาการติดเชื้อโควิด19 และการไอนั้นก็ยังเป็นวิธีการกำจัดเชื้อโรคออกจากร่างกาย ต่อเนื่องมาจากการต่อสู้ของระบบภูมิคุ้มกัน และการต่อสู้ระหว่างภูมิคุ้มกันกับเชื้อโรคนี้เอง ที่ส่งผลให้เนื้อเยื่อในระบบทางเดินหายใจเกิดอาการอักเสบและบวมขึ้นมา โดยอาการเหล่านี้จะค่อย ๆ หายไป เมื่อเชื้อโควิดเริ่มพ่ายแพ้และอ่อนแรง แต่บางคนที่ไม่โชคดีมากนัก เพราะว่าการอักเสบที่ว่ายังคงอยู่ในร่างกาย ทำให้ยังคงมีอาการระคายคอและไอเรื้อรังอยู่นั่นเอง  สำหรับใครที่สงสัยว่าอาการไอเรื้อรังที่ตนเป็นอยู่นี้ คือ อาการลองโควิดหรือไม่ ซึ่งจากการดูสถิติของภาวะและอาการลองโควิด พบว่า การไอเรื้อรัง ก็เป็นอีกหนึ่งในอาการของผู้ป่วยลองโควิดเช่นกัน ซึ่งเป็น 19% ด้วยกันที่ผู้เป็นลองโควิดจะมีอาการไอต่อเนื่องไปอีกอย่างน้อย 2-3 สัปดาห์ หรืออาจนานถึง 180 วัน แม้ว่าจะหายจากการเป็นโควิดแล้วก็ตาม  ไอเรื้อรังเสี่ยงเชื้อโควิดลงปอดหรือไม่  สำหรับผู้ที่เคยติดโควิด19 และรักษาจนหายแล้วในบางราย อาจยังมีรอยต่อของโรคเนื่องมาจากการอักเสบของบริเวณปอดได้ […]