จากข่าวไฟไหม้สถานบันเทิงผับดังชลบุรี ไฟไหม้อาคารสูงและสำนักงานต่างๆ หม้อแปลงระเบิดจนเกิดการลุกไหม้ลามไปยังสายไฟและบ้านเรือน ทุกครั้งที่เกิดเหตุไฟไหม้ ย่อมจะต้องเกิดความเสียหายและการสูญเสีย โดยเฉพาะเมื่อเกิดไฟไหม้โรงงานอุตสาหกรรม ที่มักจะมีผลตามมาในเรื่องของระบบสุขภาพของผู้อาศัยในบริเวณใกล้เคียง เพราะโรงงานมักจะมีสารเคมี หรือวัสดุที่เกี่ยวข้องกับเคมี สารอันตราย ทำให้มีการระเหยสารเคมีไปกับควันไฟในอากาศ ที่สามารถลอยไปได้ไกลหลายกิโลเลยทีเดียว และสาเหตุหลักส่วนใหญ่ของเหตุเพลิงไหม้ คือ “ไฟฟ้าลัดวงจร”
ด้วยเหตุนี้ไม่ว่าจะเป็นอาคารพาณิชย์ ที่เปิดเป็นสถานประกอบการธุรกิจ ร้านอาหารขนาดใหญ่ ผับ บาร์ หรือระบบโรงงาน จะต้องมีการติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันและตรวจสอบระบบไฟฟ้าอยู่เสมอ และตรวจสอบระบบไฟฟ้าประจำปีในโรงงานทุกประเภท และถ้ามีการตรวจพบว่าสถานประกอบการใด ไม่มีการติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้า ถือว่ามีความผิดทางกฎหมาย
ทำไมต้องมีอุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้า แล้วอุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้าคืออะไร?
อุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้าคือ อุปกรณ์ที่ช่วยป้องกันอันตรายที่เกิดจากไฟฟ้า ทั้งในกรณีไฟฟ้าช็อต ไฟฟ้าดูด ไฟฟ้าลัดวงจร ที่จะสร้างความเสียหายให้เกิดขึ้นทั้งต่อชีวิตและทรัพย์สินได้ โดยตัวอุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้าโดยตรง และอุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้าแรงสูงมีอะไรบ้าง
- Main switch หรือ สวิตซ์ประธาน มีโครงสร้างเป็นตัวตัดไฟขนาดใหญ่ เป็นอุปกรณ์ตัวหลักในการตัดต่อวงจรไฟฟ้าของสายเมนเข้ากับอาคารและสายไฟภายในทั้งหมด เมนสวิตซ์อาจจะอยู่รวมกับอุปกรณ์อื่นๆในแผงสวิตซ์ก็ได้ หรืออยู่เดี่ยวๆแยกต่างหากก็ได้ หากใช้งานกับไฟฟ้าแรงสูงจะเป็นตู้ขนาดใหญ่แบบโลหะที่จะต้องมีความแข็งแรง ช่วยป้องกันจากสภาพอากาศและการระเบิดได้ดี
- เครื่องตัดไฟรั่ว (Earth Leakage Circuit Breaker) เป็นตัวที่เชื่อมต่อกับสายดินเพื่อตัดกระแสไฟเกินหรือไฟรั่วลงสู่ดินทันที โดยผ่านฉนวนอุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้าหรือร่างกายมนุษย์ ช่วยป้องกันไฟดูดผู้ที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงที่มีกระแสไฟรั่ว และป้องกันอัคคีภัย
- ฟิวส์ (Fuse) เป็นอีกอุปกรณ์กันกระแสไฟฟ้าเกินชนิดหนึ่ง ทำออกมาเป็นโลหะหลายรูปแบบเพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งาน เป็นตัวป้องกันไม่ให้มีกระแสไฟฟ้าเกิน หากกระแสไฟฟ้าเริ่มสูงมากเกินกำหนด ฟิวส์จะทำการตัดไฟฟ้าทันที เพื่อป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร
- เซอร์กิตเบรกเกอร์ (Circuit Breaker) หรือ สวิตซ์ตัดไฟอัตโนมัติ เป็นอุปกรณ์ใช้ป้องกันกระแสไฟเกินหรือลัดวงจรเช่นเดียวกับฟิวส์ แต่จะต่างกันตรงที่ถ้าหากไฟฟ้าลัดวงจร สะพานไฟที่เชื่อมอยู่จะถูกตัดลงทันที ทำให้กระแสไฟไหลผ่านไปไม่ได้ ป้องกันการเกิดไฟฟ้าช็อตหรือไฟดูด และยังช่วยป้องกันไม่ให้อุปกรณ์ภายในบ้านและตัวมันเองเสียหาย และเมื่อต้องการจะใช้งานอีกครั้ง เพียงแค่สับสวิตซ์ขึ้นเท่านั้น ไม่ต้องเปลี่ยนใหม่เหมือนกับฟิวส์
- คอนซูมเมอร์ (C onsumer) และ (Load Centre) โดยคอนซูมเมอร์มีหน้าที่ในการแบ่งวงจรไฟฟ้าให้กลายเป็นวงจรย่อย เช่น วงจรเต้ารับ วงจรแสงสว่าง โดยภายในตู้คอนซูมเมอร์ประกอบด้วย เซอร์กิตเบรกเกอร์ ที่เป็นตัวเมน 2 ตัว และเซอร์กิตเบรกเกอร์วงจรย่อย ซึ่งตัวกล่องจะทำจากโลหะและมีจุดต่อสายดิน การที่จะนำตู้คอนซูมเมอร์มาใช้งานได้นั้น จะต้องต่อออกจากเอาต์พุตของฟิวส์เมนและเซอร์กิตเบรกเกอร์เมนก่อน เพื่อให้ถูกต้องตามข้อบังคับของการไฟฟ้า ส่วนโหลดเซ็นเตอร์ จะมีหน้าที่เดียวกันกับคอนซูมเมอร์ แต่มีจำนวนของเซอร์กิตเบรกเกอร์มากกว่า คือ มีทั้งแบบ 1 เฟสและแบบ 3 เฟส ที่นิยมใช้ในระบบโรงงานอุตสาหกรรม
- สายดิน ทำหน้าที่นำกระแสไฟฟ้าที่รั่วจากอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ชำรุดลงสู่ดิน ป้องกันอันตรายแก่ผู้ที่สัมผัสอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ชำรุด การต่อสายดินทำโดยใช้ต่อสายไฟจากโครงโลหะของอุปกรณ์ไฟฟ้าหรือจากตัวถัง ลงไปยังหลักดิน (Ground Rod)
ระบบไฟฟ้าในอาคารมีอะไรบ้าง
ระบบไฟฟ้าในอาคารคือ ระบบไฟฟ้าสำหรับใช้ในบ้านและอาคารที่อยู่อาศัยทั่วไป จะใช้ระบบไฟฟ้าแบบ 1 เฟส และมีแรงดันอยู่ที่ 220V แต่สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมทั่วไปจะมีนิยมใช้ระบบไฟฟ้า 2 ระบบด้วยกัน คือ ระบบไฟ 3 เฟส 380 V และระบบไฟ 3 เฟส 4 สาย 380/220 V ซึ่งระบบไฟ 3 เฟส 3 สาย 380 V จะเป็นระบบจ่ายไฟฟ้าให้กับมอเตอร์ 3 เฟส ซึ่งจะเป็นระบบที่จ่ายกระแสไฟฟ้าให้แก่โหลด 3 เฟสที่สมดุล
เมื่อเกิดเหตุการณ์ไฟไหม้ นอกจากจะสร้างความเสียหายแล้ว สำหรับผู้ประกอบกิจการทั้งหลาย อาจยังต้องมีการชดใช้ หรือถูกฟ้องร้องเรียกร้องความเสียหาย จากผู้ประสบเหตุไฟไหม้ที่เกิดภายในสถานกิจการของตน มีหลายรายที่แทบล้มละลาย เพราะต้องตามชดใช้แก่ผู้เสียหายเป็นจำนวนมาก ดังนั้นก่อนจะเปิดบริการธุรกิจประเภทใดก็ตาม ควรศึกษาข้อกฏหมายในทุกๆด้าน โดยเฉพาะเรื่องความปลอดภัยของระบบไฟฟ้า
กฎหมายเกี่ยวกับตรวจสอบระบบไฟฟ้าประจำปี ซึ่งเป็นกฎหมายที่ของอาคารประเภทต่างๆ โดยผู้ประกอบการจะต้องรู้และดำเนินการตามข้อบัญญัติ มีดังนี้
1.กฎหมายกระทรวงกำหนดประเภทอาคารที่ต้องจัดให้มีผู้ตรวจสอบ เป็นอาคาร 9 ประเภทต่อไปนี้
- อาคารสูงตั้งแต่ 23 เมตรขึ้นไป
- อาคารขนาดใหญ่พิเศษ ซึ่งมีพื้นที่ตั้งแต่ 10,000 ตรม.ขึ้นไป
- อาคารที่มีการชุมนุมคนตั้งแต่ 500 คนขึ้นไป หรือมีพื้นที่ตั้งแต่ 1,000 ตารางเมตร
- โรงมหรสพ สถานที่มีการจัดแสดง
- โรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม ที่มีห้องพักตั้งแต่ 80 ห้องขึ้นไป
- อาคารชุดตามกฏหมายว่าด้วย โรงงานที่มีพื้นที่ใช้สอยตั้งแต่ 5,000 ตรม. และมีความสูงมากกว่า 1 ชั้น
- สถานบริการตามกฏหมายว่าด้วย สถานบริการที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 200 ตรม.ขึ้นไป
- อาคารชุดตามกฏหมายว่าด้วยอาคารชุด หรืออาคารอยู่อาศัยรวม ที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 2,000 ตรม.ขึ้นไป
- ป้ายหรือสิ่งที่สร้างขึ้นที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 50 ตรม.ขึ้นไป หรือสูงจากพื้นดินตั้งแต่ 15 เมตรขึ้นไป หรือป้ายที่ติดตั้งบนหลังคาหรือดาดฟ้าของอาคาร หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของอาคาร ที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 25 ตรม.ขึ้นไป
2.กฏกระทรวงกำหนดมาตรการความปลอดภัยเกี่ยวกับระบบไฟฟ้าในโรงงาน พ.ศ.2550 ตาม พรบ.โรงงานอุตสาหกรรม พ.ศ.2535
- กำหนดให้ผู้ประกอบกิจการโรงงานต้องจัดให้มีการตรวจสอบระบบไฟฟ้าในโรงงาน และรับรองความปลอดภัยของระบบไฟฟ้าในโรงงานเป็นประจำทุกปี
- ผู้ทำการตรวจสอบจะต้องเป็นวิศวกรไฟฟ้า
3.กฏกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า พ.ศ.2558 ตาม พรบ.ความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ.2554
- กำหนดให้นายจ้างต้องจัดการให้มีการตรวจสอบ และจัดให้มีการบำรุงรักษาระบบไฟฟ้า และบริภัณฑ์ไฟฟ้าเพื่อให้ใช้งานได้อย่างปลอดภัย
- สำหรับผู้ทำการตรวจสอบ จะต้องเป็นผู้ที่ได้ขึ้นทะเบียนตามมาตรา 9 หรือนิติบุคคลที่ได้รับใบอนุญาตตามมาตรา 11 ตาม พรบ. ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวพล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554
มาตรการความปลอดภัยเกี่ยวกับระบบไฟฟ้าในโรงงาน พ.ศ. 2550 (กรมอุตสาหกรรม)
ผู้ประกอบกิจการโรงงานต้องมีการตรวจสอบระบบไฟฟ้าในโรงงาน และรับรองความปลอดภัยของระบบไฟฟ้าในโรงงานเป็นประจำทุกปีโดยวิศวกรหรือบุคคลที่รัฐมนตรีกำหนด โดยการตรวจสอบและรับรองดังกล่าวต้องมีเอกสารเป็นหลักฐาน ซึ่งมีรายการดังต่อไปนี้
Single Line Diagram
- มี Single Line Diagram
- เมนสวิตช์
- เครื่องป้องกันกระแสเกิน
- สายดินของแผงสวิตช์
- อุณหภูมิของอุปกรณ์
- สภาพของจุดสายต่อ
- การต่อลงดิน
พื้นที่จัดเก็บวัตถุไวไฟ
- การติดตั้งและใช้อุปกรณ์ไฟฟ้า
- ระบบป้องกันฟ้าผ่า
- การจัดเก็บวัตถุไวไฟที่ต้องมีระบบความปลอดภัยพิเศษ
หม้อแปลง
- การติดตั้งหม้อแปลง
- สภาพหม้อแปลงภายนอก
- ระบบเมนสวิตช์
- ขนาดสายเมน
- คาปาซิเตอร์ Capacitor Bank
- ปริมาณกระแส
- ตัวประกอบกำลังไฟฟ้า ( Power Factor)
- การจัดโหลดเพื่อให้เฟสสมดุล (Balanceload)
ระบบสายดิน
- ตรวจสอบตู้เมน
- อุปกรณ์และเครื่องจักรต่างๆ
- สายไฟและสภาพทางเดินสายไฟฟ้า
วิธีป้องกันไฟไหม้อาคาร โรงงาน และคลังสินค้า
- ใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีคุณภาพ ผ่านการรองรับมาตรฐานความปลอดภัย
- ซื้ออุปกรณ์ไฟฟ้ากับร้านขายอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เชื่อถือได้ เพื่อให้ได้สินค้าแท้และมีคุณภาพ
- ติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้าให้ถูกต้องโดยวิศวกรหรือผู้ชำนาญการเท่านั้น
- หมั่นตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้าและระบบไฟสม่ำเสมอ
- มาตรการการสูบบุหรี่ จะต้องมีมุมสำหรับสูบบุหรี่โดยเฉพาะ ที่เป็นสัดส่วน โดยห่างจากวัตถุไวไฟ
- หมั่นตรวจสอบเครื่องจักรและระบบทำความร้อน
- หมั่นกำจัดขยะ เพราะขยะโรงงานที่สะสมไว้เสี่ยงต่อการเป็นเชื้อเพลิงอย่างดี
- ตรวจตราอุปกรณ์ไฟฟ้าและเครื่องจักร และปิดสวิตซ์หรือปิดระบบไฟฟ้าในส่วนที่เลิกใช้งานทุกครั้ง
สำหรับผู้ประกอบกิจการท่านใดที่กำลังจะหาซื้ออุปกรณ์ไฟฟ้าเพื่อติดตั้งในอาคาร ที่ต้องการอุปกรณ์ไฟฟ้าแบรนด์แท้ มีคุณภาพ คุ้มค่าต่อการใช้งาน และมีความปลอดภัยต่อสถานประกอบการ สามารตติดต่อ sqdgroups.com ตัวแทนจำหน่ายอุปกรณ์ไฟฟ้าให้กับแบรนด์ชั้นนำระดับโลก ที่เปิดให้บริการมาอย่างยาวนาน มากไปด้วยประสบการณ์ด้านอุปกรณ์ไฟฟ้า และมีชื่อเสียงเป็นอันดับต้นๆของประเทศไทย รับรองว่าจะได้คำปรึกษาที่ดีและอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพ คุ้มค่าต่อการใช้งาน ช่วยป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าและอัคคีภัย