กำจัดเศษอาหารทิ้งในบ้าน ช่วยลดโลกร้อนได้อย่างไร 

ภัยธรรมชาติ ที่นับวันยิ่งทวีความรุนแรงและเกิดขึ้นถี่ทั่วมุมโลก ไม่ว่าจะเป็นข่าวน้ำท่วม แผ่นดินไหว พายุดีเปรสชั่น พายุโซนร้อน อากาศร้อนจนมีผู้เสียชีวิต หิมะตกในประเทศโซนร้อน ฯลฯ จึงต้องยอมรับว่าตอนนี้ระบบธรรมชาติกำลังผิดปกติ โดยความผิดปกตินี้เนื่องมาจากผลกระทบของ “ภาวะโลกร้อน” (Global Warming) 

ทำไมโลกเราถึงร้อนขึ้น? ทำไมสภาพอากาศถึงเลวร้ายลง? พฤติกรรมไหนของมนุษย์ที่เป็นตัวการ? เราจะช่วยโลกให้ดีขึ้นได้อย่างไร? ใครเคยมีคำถามนี้กับตัวเองบ้าง และเริ่มลงมือทำกันบ้างหรือยัง?

ทำไมโลกเราถึงร้อนขึ้น?

ภาวะโลกร้อน เกิดจากที่ก๊าซเรือนกระจกที่ปกคลุมโลกมีปริมาณของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซมีเทน และองค์ประกอบจากก๊าซอื่น ๆ เพิ่มมากขึ้นทำให้ก๊าซเรือนกระจกหนามากขึ้น คล้ายผ้าห่มหนาๆที่ปกคลุมห่อหุ้มโลกใบนี้อยู่ และกักเก็บความร้อนจากดวงอาทิตย์ไว้ ยิ่งปริมาณก๊าซเรือนกระจกหนาขึ้นเท่าไร โลกก็จะยิ่งร้อนมากขึ้น

ก๊าซเรือนกระจกเป็นสิ่งที่เลวร้าย?

ที่จริงแล้ว ก๊าซเรือนกระจก เป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญต่อโลก เพราะก๊าซเรือนกระจกจะช่วยกักเก็บและดูดซับคลื่นรังสีความร้อนจากดวงอาทิตย์ที่ส่องมายังโลกไว้บางส่วน และสะท้อนกลับไปยังนอกโลกบางส่วน เพื่อให้เกิดความสมดุลต่อสิ่งมีชีวิตในโลก หากไม่มีก๊าซเรือนกระจก สภาพอากาศของโลกจะสวิง คือหนาวจัดในเวลากลางคืน และร้อนจัดในเวลากลางวัน เฉกเช่นเดียวกับดาวอังคารและดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ และถ้ามีก๊าซเรือนกระจกหนาเกินไป ก็จะทำให้สภาพภูมิอากาศร้อนจัดที่ไม่เหมาะต่อสิ่งมีชีวิตอย่างมนุษย์จะอยู่ได้ แบบดาวศุกร์ ดังนั้นก๊าซเรือนกระจก หรือ GHGs (Greenhouse Gas) จึงช่วยเอื้อต่อสรรพชีวิตในโลกใบนี้ แต่ดูเหมือนว่า โลกเราขณะนี้กำลังจะเข้าสู่ห้วงวิกฤติและอาจกลายเป็นดาวศุกร์ดวงที่ 2 หากสถานการณ์ของภาวะโลกร้อนไม่มีการคลี่คลายอย่างเร่งด่วน 

สาเหตุของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศจะเป็นไปตามธรรมชาติในระยะยาว และมักจะแบ่งเป็นช่วงระยะเวลา อย่างฤดูต่างๆ ตามภูมิประเทศ แต่ในการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศในปัจจุบัน เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ผิดปกติ และรวดเร็วอย่างที่ไม่ควรจะเป็น โดยมีมนุษย์เป็นตัวแปร จากการกระทำและกิจกรรมของมนุษย์เป็นส่วนใหญ่ 

พฤติกรรมไหนของมนุษย์ที่เป็นตัวการ

  1. การผลิตพลังงานไฟฟ้าและความร้อน การขุดพลังงานฟอสซิล น้ำมัน ถ่านหิน การทำเหมืองแร่ เพราะจะปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปริมาณมาก ทั้งคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซไนตรัส โดยก๊าซเหล่านี้จะมารวมตัวกันในชั้นบรรยากาศ เพิ่มความหนาให้กับเรือนกระจกที่ปกคลุมโลก ทำให้คุณสมบัติของเรือนกระจกที่ดูดซับความร้อนจากดวงอาทิตย์ แต่ไม่สามารถสะท้อนความร้อนกลับออกไปยังนอกบรรยากาศโลกได้ ทำให้ความร้อนถูกกักเก็บอยู่ในโลกอย่างเต็มที่ และมีอุณหภูมิสูงเกินไปสำหรับสิ่งมีชีวิตในโลก 

  1. การตัดไม้ทำลายป่า ในแต่ละปีจะมีพื้นที่ป่าประมาณ 70-75 ไร่ ถูกทำลาย เพื่อทำการเกษตรกรรม หรือตัดไม้เพื่อใช้ในการก่อสร้าง และสร้างที่อยู่อาศัย ทำให้คาร์บอนที่สะสมในเนื้อไม้ ในรากไม้ และในดิน ถูกปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศ 

  1. การคมนาคมขนส่ง ไม่ว่าจะเป็นทางบก ทางน้ำ หรือทางอากาศ โดยพาหนะส่วนใหญ่จะมีขับเคลื่อนด้วยพลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิล การขนส่งจึงกลายเป็นสาเหตุหลักในการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยเฉพาะยานพาหนะบนท้องถนน จะมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงที่สุด เพราะเครื่องยนต์แบบสันดาปภายในต้องอาศัยการเผาไหม้ของน้ำมัน รองลงมาจากรถ ได้แก่ เรือ และเครื่องบิน ที่มีการปล่อยมลพิษในภาคการขนส่งเกือบ 1 ใน 4 ที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนได้ออกไซด์ และมีแนวโน้มว่าในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า จะมีการใช้เชื้อเพลิงสำหรับการขนส่งสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ 

  1. การผลิตสินค้าอุตสาหกรรม ส่วนใหญ่จะมีการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล เพื่อใช้ในการผลิตสินค้าต่างๆ เช่น เสื้อผ้า พลาสติก ปูนซีเมนต์ โลหะ รองเท้า และอื่นๆ อุตสาหกรรมที่มีการใช้เครื่องจักร เครื่องยนต์ ที่จะต้องใช้พลังงานจากถ่านหิน น้ำมัน ก๊าซ เป็นเชื้อเพลิง รวมไปอุสาหกรรมก่อสร้าง ซึ่งอุตสาหกรรมการผลิตทั้งหลายล้วนแต่มีส่วนในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุด 

  1. กระบวนการผลิตอาหาร ทุกกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการผลิตอาหาร ไม่ว่าจะเป็น การทำลายพื้นที่ป่าเพื่อทำการเกษตรกรรม การเลี้ยงสัตว์ การประมง เพราะเรือต้องใช้เชื้อเพลิง ขั้นตอนกระบวนการผลิตอาหารสำเร็จรูป การผลิตบรรจุภัณฑ์ใส่อาหาร การใช้แก๊สหุงต้ม เรียกได้ว่าตั้งแต่ต้นกระบวนของการผลิตวัตถุดิบอาหาร ไปจนสู่ปลายทางการปรุงอาหาร ใช้แก๊สหุงต้ม เป็นส่วนในการก่อก๊าซเรือนกระจกทั้งสิ้น 

  1. การใช้พลังงานในที่พักอาศัย อาคารพาณิชย์ หรือในคลังสินค้า โรงงาน ที่มีการใช้พลังงานไฟฟ้า ซึ่งมากกว่าครึ่งหนึ่งของพลังงานที่ใช้ทั่วโลก โดยการใช้พลังงานไฟฟ้าเหล่านี้ ล้วนแต่ต้องใช้น้ำมัน ถ่านหิน และก๊าซธรรมชาติ เพื่อเป็นเชื้อเพลิงในการทำความร้อนและความเย็น ดังนั้นทุกอาคารสถานที่ย่อมเป็นแหล่งปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปริมาณมหาศาล 

  1. การบริโภคที่มากเกินพอดี ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบของข้าวของเครื่องใช้ อาหาร เครื่องแต่งกาย ที่ยิ่งมีความต้องการ ก็ยิ่งต้องมีการผลิต โดยกระบวนการผลิตจะมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมหาศาลในภาคอุตสาหกรรม ยิ่งสินค้าที่มักเป็นความต้องการตามแฟชั่น มีช่วงเวลา ยิ่งเป็นต้นเหตุให้มีการผลิตต่อเนื่อง และปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างต่อเนื่องแบบไม่มีวันจบสิ้น เช่น เสื้อผ้า รองเท้า กระเป๋า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิส์ พลาสติก 

  1. พฤติกรรมการกิน รูปแบบการกินอาหารที่มักจะมีการเหลือทิ้งแทบจะทุกครัวเรือน หรืออาหารที่ตกแต่งความสวยงามบนจาน แต่สุดท้ายก็เททิ้งอย่างไม่ใยดี วัตถุดิบอาหารที่เก็บจนเน่าเสียหรือหมดอายุ การตักอาหารบุฟเฟ่ต์มากเกินไปจนทานไม่หมด พฤติกรรมเหล่านี้ต่างก็มีส่วนในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นจำนวนมาก เพราะขยะอาหารที่ถูกทิ้งเหล่านี้ จะมีการย่อยสลายโดยธรรมชาติ และระหว่างกระบวนการย่อยสลายเศษอาหาร จะมีการปล่อยก๊าซมีเทน ซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกเช่นกัน  

เราจะช่วยโลกให้ดีขึ้นได้อย่างไร?

จากทั้ง 8 ข้อที่กล่าวมาข้างต้นนั้น ในส่วนของข้อที่กล่าวถึง พฤติกรรมการกินของคนเรานี้เอง ที่กำลังก่อให้เกิดปัญหาระดับโลก เพราะขยะอาหารกำลังไต่ลำดับขึ้นมาเป็นปัญหาที่ร้ายกาจของโลกเป็นอันดับ 3  และเป็นต้นเหตุที่ปล่อยก๊าซมีเทนจำนวนมหาศาล แม้จะน้อยกว่าคาร์บอนไดออกไซด์ แต่ความสามารถในการดูดซับความร้อนกลับมีมากกว่าเกือบ 30 เท่าเลยทีเดียว ทั้งที่จริงแล้ว การแก้ไขต้นตอของปัญหาขยะเศษอาหาร สามารถทำได้ไม่ยาก และหากทุกคนร่วมมือกันทำตั้งแต่ที่บ้าน จะช่วยลดปริมาณขยะในภาพรวมทั้งหมดไปได้มากกว่าหลายพันล้านตัน! 

แนวทางการกำจัดเศษอาหารเหลือทิ้งในบ้าน 

  1. กำจัดเศษอาหารโดยการขุดหลุมฝัง วิธีนี้จะเหมาะกับบ้านที่มีบริเวณและพื้นที่ภายนอกบ้านพอสมควร และต้องอยู่ห่างจากตัวบ้าน เพื่อป้องกันกลิ่นเหม็นที่อาจเล็ดลอดรบกวนคนในบ้าน รวมไปถึงมด หนู แมลงต่างๆ ที่อาจมาตามกลิ่นของขยะอาหาร ดังนั้นจึงต้องมีการทำให้เป็นสัดส่วนและมิดชิด เพื่อป้องกันปัญหาดังกล่าว และไม่ให้กลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรคมาสู่คนในบ้าน แม้ว่าการฝังกลบนี้จะช่วยลดภาระการจำจัดขยะอาหารลงไปได้ และยังทำให้กลายเป็นปุ๋ยบำรุงต้นไม้ในบ้าน แต่ก็ยังต้องระวังในเรื่องปริมาณของไขมันจากเศษอาหาร เพราะหากดินมีไขมันมากเกินไป อาจทำใหน้ำและอากาศซึมผ่านดินได้ยากจนพืชอาจขาดน้ำได้ 

  1. กำจัดเศษอาหารด้วยเครื่องหมักปุ๋ย เพื่อเปลี่ยนจากเศษอาหารให้กลายเป็นปุ๋ย ที่อุดมไปด้วยสารอาหารที่จำเป็นต่อพืช โดยไม่ต้องมีพื้นที่ในการกลบฝัง ไม่ต้องขุดหลุม ไม่ต้องใช้เวลานานเป็นเดือนๆแบบการทำปุ๋ยหมักดั้งเดิม เหมาะกับบ้านหรือที่อยู่อาศัยทุกรูปแบบ โดยเฉพาะวิถีชีวิตของคนในยุคปัจจุบัน ที่มักจะอาศัยในพื้นที่จำกัด ไม่มีระบบบำบัดรองรับน้ำเสีย ถือว่าตอบโจทย์และสะดวก ง่ายต่อการใช้งาน ช่วยกำจัดขยะเศษอาหารในบ้านได้เป็นอย่างดี หมดห่วงเรื่องกลิ่น หนู มด แมลง รบกวน โดยเครื่องกำจัดเศษอาหารแบบนี้ มักจะสามารถย่อยเศษอาหารได้หลากหลาย แต่ก็ต้องขึ้นอยู่กับรุ่นและขนาดของเครื่อง ด้วยคุณสมบัติในการหมักปุ๋ยภายใน 1-2 วัน ก็จะได้ปุ๋ยคุณภาพพรีเมียมไปใส่ต้นไม้ได้เลย โดยไม่ต้องผสมอะไรให้วุ่นวายอีก ทำให้เป็นนวัตกรรมรักษ์โลกที่ควรมีติดบ้านเป็นอย่างยิ่ง เพราะนอกจากจะดีต่อเจ้าของบ้านทุกหลัง ที่จบปัญหาขยะเศษอาหารในบ้าน ยังได้ปุ๋ยออแกนิคฟรี จะใส่ต้นไม้ที่บ้าน หรือนำไปขายหารายได้เสริม ก็ดีงามทั้งนั้น และผลลัพท์ที่น่าภูมิใจที่สุด คือ ได้เป็นส่วนหนึ่งในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 

เมื่อทราบถึงแนวทางในการกำจัดเศษอาหารในบ้านกันไปแล้ว ลองพิจารณาเลือกสิ่งที่เหมาะสม อย่าง Hass เครื่องกำจัดเศษอาหาร ที่จะช่วยตอบโจทย์กับไลฟ์สไตล์ของคนรักษ์โลกแบบ New Life ให้ใช้ชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้ง่ายๆ อย่างที่ใครๆก็ทำได้ เพราะการรักษ์โลกต้องลงมือทำ!!