วันโยคะสากล International Day of Yoga

องค์การสหประชาชาติ ได้มีการประกาศให้วันที่ 21 มิถุนายนของทุกปีเป็นวันโยคะสากล โดยมีจุดเริ่มต้นมาจาก นเรนทรา โมดี นายกรัฐมนตรีของประเทศอินเดีย ต้องการเผยแพร่ศาสตร์โยคะที่เป็นสิ่งล้ำค่าและมีมานานกว่า 2,000 ปี ของอินเดีย ให้เป็นที่รู้จักทั่วโลก เพราะมองว่าโยคะสามารถช่วยบำบัดจิตใจและร่างกาย ให้รู้สึกสงบได้ เมื่อ นเรนทรา โมดี เสนอต่อที่ประชุมสหประชาชาติ เพื่อขอตั้งวันโยคะสากลขึ้น ได้มีมติเห็นชอบจากสมาชิกจำนวน 175 ประเทศ ในวันที่ 11 ธันวาคม 2014 โดยกำหนดให้วันที่ 21 มิถุนายนของทุกปีเป็นวันโยคะสากล และเริ่มปีแรกเมื่อ ปี 2015

เหตุผลที่เลือกวันที่ 21 มิถุนายน เป็นวันโยคะสากล เพราะตรงกับวันครีษมายัน (อ่านว่า ครีด-สะ-มา-ยัน) คือวันที่มีช่วงกลางวันยาวนานที่สุดในรอบปีของประเทศทางซีกโลกเหนือ เป็นวันเริ่มต้นฤดูร้อนและเริ่มต้นเทศกาลมงคล

โยคะคืออะไร

Yoga หรือ โยคะ คือ  การรวมกาย จิต วิญญาณ ให้เป็นหนึ่งเดียว โดยการรวบรวมสมาธิ ควบคุมอวัยวะ การหายใจ และดวงจิต ให้จดจ่อกับการหายใจเข้า-ออก เพื่อให้เกิดสมาธิ 

ประวัติโยคะ

โยคะ ประวัติอันยาวนาน ราวๆ 1000 ปี ถือกำเนิดในประเทศอินเดีย จากความพยายามที่จะค้นคว้าประวัติของศาสตร์ต่าง ๆ ของบรรพบุรุษ ก่อนจะตกทอดจากรุ่นสู่รุ่น ได้ค้นพบไม้แกะสลักรูปปั้น การฝึกโยคะ ในหุบเขาอินดัสวอลเลย์ หรือปากีสถานในปัจจุบัน ซึ่งถูกสร้างขึ้นในช่วงราวๆ 2000 ปี ก่อนคริสต์กาล หากย้อนลึกไปถึงผู้ที่นำโยคะพื้นฐานมาฝึกคนแรก คือ นักปราชญ์ชาวฮินดู นามว่า ปตัญชลี โดยคนฝึกที่เป็นผู้ชายจะเรียกว่า โยคิน หรือ โยคี ส่วนผู้หญิงฝึกโยคะ เรียกว่า โยคินี ส่วนผู้สอนจะเรียกว่า คุรุ หรือ ครู นั่นเอง และเมื่อชาวตะวันตกได้นำศาสตร์โยคะ Hatha yaga มาผสมผสานกับการออกกำลังกาย จึงกลายเป็นศาสตร์ “Yoga”  

โยคะช่วยอะไร 

การเล่นโยคะมีผลต่อการทำงานของร่างกายในส่วนของการยืดหยุ่นกล้ามเนื้อ กระดูกสันหลัง และระบบประสาท รวมไปถึงการทำงานของต่อมไร้ท่อต่างๆ ทำงานได้ดีขึ้น เลือดไหลเวียนได้สะดวก สามารถนำสารอาหารไปหล่อเลี้่ยงร่างกายได้ทั่วถึง อีกทั้งการฝีกโยคะยังเกี่ยวข้องโดยตรงกับการกำหนดลมหายใจ และจิดวิญญาณ ให้สอดคล้องกันและเกิดความสมดุล ทำให้สุขภาพกายและใจดีขึ้น 

ชนิดของโยคะ 

เชื่อว่ามีอีกหลายคนที่ยังไม่รู้ว่าโยคะยืดเส้นมีหลากหลายกว่าที่เราเห็นกัน เรามาดูกันว่าประเภทโยคะมีอะไรกันบ้าง 

1.หะฐะโยคะ หรือ Hatha Yoga เป็นโยคะพื้นฐานในการใช้ฝึกกาย เพื่อให้พร้อมที่จะฝึกจิตและระดับโยคะขั้นต่อไป โดยมีท่าเบื้องต้นของหะฐะโยคะ คือ ฤาษีดัดตน ซึ่งเป็นท่าออกกำลังกายของโยคีในอดีต และได้รับความนิยมในปัจจุบันเช่นกัน 

2.ลายะโยคะ หรือ Laya Yoga มีความหมายว่า พลังที่ซ่อนอยู่ โดยมุ่งเน้นการควบคุมจิตให้นิ่ง เพื่อปลุกพลังที่ซ่อนอยู่ภายใน โดยมีภาษษโยคะว่า “กุณฑลินี” (Kundalini)

3.มนตราโยคะ Montha Yoga หรือ “จาปะโยคะ” เป็นโยคะที่มีการท่องมนต์ประกอบ โดยจะต้องเป็นมนต์ที่ผูกขึ้นจากปรจารย์ และมนต์ที่ถือว่าเป็นมนต์อันสูงสุด คือ “โอม” ที่จะประกอบด้วยคำสามคำ คือ อะ อุ มะ 

4.ภักติโยคะ หรือ Pukthi Yoga เป็นโยคะที่มุ่งเน้นด้านจิตใจให้มีความเสียสละและการเป็นผู้ให้ โดยมีการถือบวงสรวงเป็นหลัก และมักจะนำไปผสมผสานกับมนตรโยคะ เนื่องจากมีความคล้ายคลึงและเชื่อมโยงกัน ซึ่งโยคะสาขานี้เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในอินเดีย

5.กรรมโยคะ หรือ Kumma Yoga โยคะที่มุ่งเน้นการกระทำเป็นหลัก โดยอิงจากความเป็นเหตุและผล คือ ทำสิ่งใดไว้ ได้ผลสิ่งนั้น เป็นการยึดหลักของ กรรม ที่อิงความเชื่อทางศาสนา มีการเข้าฌาณ พิธีบวงสรวง และสวดบูชาเทพเจ้า 

6.ญาณะโยคะ หรือ Yana Yoga ญาณะโยคะ มาจากคำว่า ญาณ แปลว่า “ความรู้ ปัญญา การหยั่งรู้” เป็นสาขาโยคะที่เชื่อในหลักของความเป็นจริง โดยเชื่อว่าความรู้ที่ได้จากการฝึกโยคะจากการปฏิบัติสมาธิ จะทำให้เกิดสติและปัญญา สามารถรู้แจ้งเห็นจริง แยกแยะดี-ชั่วได้ อย่างถูกต้อง 

7.ราชโยคะ หรือ Raja Yoga โยคะที่มุ่งเน้นการเข้าฌาน เพื่อให้เกิดสมาธิ จึงต้องตัดความฟุ้งซ่านทั้งหมดออก เพื่อให้ร่างกายและจิตใจมีความสงบ ข้อดีข้อเสียของโยคะสาขานี้ ข้อดีคือ ขั้นตอนการฝึกไม่ยุ่งยาก สามารถทำได้ง่าย เพราะมีหลักการปฏิบัติที่แน่นอน และผู้ฝึกจะรู้สึกถึงความสงบที่แท้จริงของจิตใจ เมื่อจิตสงบก็จะสามารถฝึกระดับของโยคะขั้นสูง หรือโยคะประเภทอื่นได้ง่ายขึ้น ส่วนข้อเสียคือ จะต้องใช้เวลาในการฝึกนาน ทำให้ผู้ฝึกต้องห่างจากวงสังคม 

เราก็รู้ประวัติคร่าวๆ เพื่อต้อนรับวันโยคะสากลกันไปแล้ว ทำให้รู้ว่าโยคะนั้นมีมาอย่างยาวนานกว่าที่คิดเลยใช่ไหมล่ะ และท่าโยคะสมัยใหม่ที่เราเห็นกันทั่วไป ได้แตกยอดมาจากประเภทโยคะที่มาจากผู้ถือศีลอย่างโยคี และยังมีต้นกำเนิดมาจากอินเดีย โดยอิงจากหลักความเชื่อ เพื่อหล่อรวมกายและจิตวิญญาณเป็นหนึ่งเดียวอย่างแท้จริง