8 ข้อดีของการบริจาคเลือด 

“เลือด” คือ สารสำคัญในระบบการมีชีวิต แต่ เลือดกลับเป็นสิ่งที่หาซื้อไม่ได้ การบริจาคเลือด จึงมีความสำคัญที่จะช่วยต่อชีวิตได้อีกมากมาย ทำให้ต้องมีการรณรงค์บริจาคโลหิตกันอย่างต่อเนื่อง นอกจากคนรับที่จะได้ประโยชน์ในการบริจาคเลือด แล้วคนให้ล่ะ จะได้อะไรกลับมาบ้าง วันนี้ทีมงาน homemaking-cottage-blog ได้นำคำตอบ บริจาคเลือด ข้อดี ข้อเสีย มีอะไรบ้าง มาให้ไว้ในบทความนี้แล้ว เรามาดู 8 ข้อดีของการบริจาคเลือดกันเลยดีกว่า 

1. สุขภาพร่างกายแข็งแรง 

เลือดที่เราถ่ายบริจาคไป อาจเป็นเลือดเสียของเรา แต่เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น การถ่ายเลือดจะไปกระตุ้นร่างกายของเรา ให้มีการสร้างเลือดดีขึ้นมาใหม่ ทำให้ระบบไหลเวียนเลือดสะอาดและหมุนเวียนดีขึ้น ส่งผลต่อสุขภาพร่างกายแข็งแรงขึ้นตามไปด้วย 

2. หน้าใส ผิวสวย 

ลบความเชื่อผิด ๆ ที่ว่าบริจาคเลือดแล้วจะทำให้อ้วนขึ้นไปเลย เพราะที่จริงแล้ว การบริจาคเลือด ช่วยให้สุขภาพดี ผิวพรรณดี ผิวใส  เปล่งปลั่ง แบบไม่ต้องฉีดฟิลเตอร์ หรือเติมวิตามิน คอลลาเจนใด ๆ ให้กับผิว แต่ผิวสวย หน้าใส โดยไม่ต้องพึ่งกลูต้า 

3. ลดความเสี่ยงภาวะหลอดเลือดแดงตีบ 

มีงานวิจัยพบว่า ผู้ที่มีการเจาะเลือด หรือถ่ายเลือดออกเป็นประจำ จะช่วยลดระดับน้ำตาล ทำให้ความดันโลหิตลดลง เพราะสัดส่วนระหว่าง ไขมันดี / ไขมันไม่ดี เป็นไปในทางที่ดีขึ้น ในกลุ่มคนที่มีอาการทางเมตาโบลิก ที่มีความดันสูง เนื่องจากมีระดับน้ำตาลและไขมันในเลือดสูง 

4. ห่างไกลโรคมะเร็ง 

ผลจากการศึกษาพบว่า ผู้ที่บริจาคเลือดเป็นประจำ ช่วยลดความเสี่ยงต่อการป่วยโรคมะเร็งหลายชนิด เช่น มะเร็งคอหอย มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งลำไส้ มะเร็งปอด มะเร็งตับ เป็นต้น นอกจากนี้ ผู้ที่บริจาคเลือดมีแนวโน้มที่จะมีอายุยืน หรือ มีโอกาสเสียชีวิตจากโรคต่าง ๆ น้อยกว่าผู้ที่ไม่เคยบริจาคเลือดอีกด้วย 

5. ได้เช็คสุขภาพไปในตัว 

เนื่องจากผู้ที่จะบริจาคโลหิต จะต้องเป็นผู้ที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ไม่มีโรคประจำตัว หรือเป็นพาหะในการแพร่เชื้อไวรัสตับอักเสบ B ไวรัสตับอักเสบ C โรคซิฟิลิส โรคเอดส์ และโรคอื่น ๆ ที่มีความเสี่ยงสูง ดังนั้น ผู้ที่จะบริจาคเลือดจึงต้องงดเว้นพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อ หรือทำให้ตัวเองเจ็บป่วย และต้องคอยเช็คสุขภาพตัวเองเป็นประจำ เพื่อความปลอดภัยต่อตัวเองและผู้ที่ได้รับบริจาคเลือด ทำให้ได้ตรวจสุขภาพไปในตัว

6. ได้ตรวจสุขประจำไตรมาส หรือ ประจำปี 

เนื่องจากโรคบางชนิดจะต้องคอยตรวจเป็นประจำ อาจตรวจสุขภาพประจำทุก ๆ 3 เดือน ตรวจสุขภาพประจำ 6 เดือน หรือตรวจสุขภาพประจำปี เช่น การตรวจภาวะโลหิตจาง การเช็คความดันโลหิต เป็นต้น ทำให้สามารถอัพเดทสุขภาพของตนเองได้ หากมีได้รับเชื้อ หรือมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคร้ายใด ๆ จะได้รู้แต่เนิ่น ๆ และรักษาตัวเองได้ทันท่วงที 

7. ได้รับการตรวจสารเคมีในโลหิต (ปีละ 1 ครั้ง) 

ผู้ที่ต้องการบริจาคเลือด หรือผู้ที่บริจาคโลหิตเป็นประจำ จะได้รับการตรวจสารเคมีในโลหิต โดยจะมีการตรวจปีละครั้ง ซึ่งสามารถแจ้งจำนงค์ที่แพทย์ หรือพยาบาลที่ทำการตรวจวัดความดันได้เลย ในวันทำการที่เปิดให้บริการของแต่ละสถานที่ และจะต้องงดน้ำ งดอาหารหลัง 20.00 น. ก่อนเข้ารับการตรวจฯ  

8. รู้สึกดี อิ่มใจ ได้สร้างกุศล

การบริจาคเลือด คือ การให้ในรูปแบบหนึ่ง ซึ่งเป็นการทำบุญ สร้างกุศล เพราะเลือดของเราได้นำไปใช้ประโยชน์ ช่วยชีวิตอื่นได้อีกมากมาย เป็นการต่อชะตาชีวิตผู้อื่นได้รอดพ้นจากความทุกข์ หรือให้ชีวิตใหม่ เสมือนได้รอดพ้นจากสูญเสียและการพลัดพราก ทำให้ผู้บริจาครู้สึกดี อิ่มใจ อิ่มบุญ ในการสร้างกุศลจากการเป็นผู้ให้นั่นเอง 

ข้อเสียของการบริจาคเลือด 

หากผู้บริจาคเลือดไม่ได้เตรียมสุขภาพร่างกายพร้อมก่อนทำการบริจาคเลือด เช่น อดนอน ไม่ได้รับการพักผ่อนที่ดี ดื่มน้ำน้อย ไม่ได้ทานอาหาร ไม่ได้รับสารอาหารที่บำรุงเลือด อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกายได้ เช่น วิงเวียน หน้ามืด คล้ายจะเป็นลม อ่อนเพลีย อาเจียน เนื่องจากการเสียเลือดในขณะที่ร่างกายไม่สมบูรณ์ ดังนั้น ควรเตรียมตัวร่างกายให้พร้อมก่อนบริจาคเลือดเสมอ จะได้สุขใจจากการเป็นผู้ให้อย่างปลอดภัย