สิทธิบัตรทอง 30 บาท ครอบคลุม และ ไม่ครอบคลุมอะไรบ้าง 

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ สปสช. ได้อัปเดตสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมใหม่ของกองทุนบัตรทอง เพื่อให้ผู้ใช้สิทธิบัตรทอง 30 บาท ได้ใช้สิทธิเข้าถึงบริการสาธารณสุขที่จำเป็นได้อย่างทั่วถึง ตามแผนบริหารจัดการที่วางไว้โดยผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) โดยบทความนี้เราจะมาดูกันว่า สิทธิของผู้ใช้บัตรทอง 30 บาท มีอะไรบ้าง ไม่สามารถใช้สิทธิบัตรทองในด้านใด และสิทธิประโยชน์ บัตรทอง 2566 ที่เพิ่มขึ้นใหม่มีอะไรบ้าง 

ภาพจาก : https://www.prachachat.net/

สิทธิบัตรทองครอบคลุมอะไรบ้าง  

  • บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค 
  • การตรวจวินิจฉัยโรค
  • การบำบัดและการบริการทางการแพทย์ 
  • ยา เวชภัณฑ์ อวัยวะเทียม และอุปกรณ์ทางการแพทย์
  • การตรวจและรับฝากครรภ์ 
  • การทำคลอด 
  • การบริบาลทารกแรกเกิด
  • การกินอยู่ในหน่วยบริการ
  • บริการรถพยาบาล บริการพาหนะรับส่งผู้ป่วย 
  • การฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายและจิตใจ 
  • การบริการพาหนะรับส่งผู้ทุพพลภาพ
  • บริการสาธารณสุขด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกตามกฏหมายว่าด้วยการประกอบโรคศิลปะ 
  • บริการสาธารณสุขอื่นที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิต ตามที่บอร์ด สปสช. ได้กำหนดเพิ่มเติม 
  • บำบัดรักษา ฟื้นฟู ผู้ติดยาและสารเสพติดที่ไม่ได้รับความคุ้มครองตามหฏหมาย 
  • บริการสาธารณสุขเกี่ยวกับอุบัติเหตุ การประสบภัยจากรถที่ไม่ด้รับความคุ้มครองตามกฏหมาย ว่าด้วยการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
  • รักษาภาวะมีบุตรยาก และการผสมเทียม ยกเว้นการตั้งครรภ์แทน (Surrogacy)
  • รักษาผู้ป่วยโรคเดียวกันที่ต้องใช้ระยะเวลารักษาประเภทผู้ป่วยใน เกิน 180 วัน 

บัตรทอง 30 บาทไม่ครอบคลุมอะไรบ้าง 

  • ตรวจเพื่อความสวยงาม โดยไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ 
  • ตรวจวินิจฉัยและรักษาที่เกินความจำเป็นจากข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ 
  • การรักษาโรคที่อยู่ในระหว่างการค้นคว้าทดลอง 
  • การปลูกถ่ายอวัยวะ ที่ไม่ปรากฏตามบัญชีแนบท้าย 
  • การบริการทางการแพทย์อื่น ๆ ตามที่บอร์ด สปสช. ได้กำหนด

สิทธิประโยชน์ บัตรทอง 2566 ที่เพิ่มขึ้นใหม่

  • บริการดูแลภาวะความดันเลือดในปอดสูงในทารกแรกเกิด (Persistent Pulmonary Hypertension of the Newborn) (จำนวน 320 ราย) 
  • บริการทันตกรรม Vital Pulp Therapy หรือ รักษาเนื้อเยื่อในฟันกรามแท้ (จำนวน 56,300 ราย) 
  • บริการรากฟันเทียม (จำนวน 15,200 ราย) 
  • บริการห้องฉุกเฉินคุณภาพภาครัฐ (จำนวน 53,184 ราย) 
  • ผ้าอ้อมผู้ใหญ่และแผ่นรองซับ (จำนวน 48,554 ราย) 
  • บริการดูแลผู้ป่วยกึ่งเฉียบพลัน (จำนวน 30,283 ราย) 
  • บริการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับพิษ (จำนวน 7,598 ราย) 
  • บริการยาป้องกันการติดเชื้อ HIV (จำนวน 27,000 ราย) 
  • บรรจุยาที่จำเป็นแต่มีราคาแพงเข้าบัญชียา (จำนวน 14 รายการ) ในการดูแลผู้ป่วย (9,634 ราย) 
  • เพิ่มเติมบริการที่คลินิกการพยาบาล กายภาพบำบัด คลินิกเวชกรรม คลินิกชุมชน และคลินิกทันตกรรม (2,002,295 ราย) และ บริการ Home Ward 

สำหรับใครที่ใช้สิทธิบัตรทอง 30 บาท ควรตรวจสอบสิทธิ์ของตนอยู่เสมอว่าสามารถใช้บริการด้านสาธารณสุขอะไรได้บ้าง และมีอะไรเพิ่มเติมมาบ้าง เพื่อจะได้ใช้สิทธิ์ที่ตนพึงได้ ในฐานะ “คนไทย”