โฮม เมคคิง คอททิจ

จับไข่มายำ ทำยำไข่ต้ม อร่อยล้ำ ประโยชน์เยอะ 

“กินอะไรดี?” คำถามที่ชวนให้ปวดหัว เพราะคิดหาคำตอบไม่ได้ เมนูอาหารร้อยแปดพันเก้า แต่สุดท้ายก็ต้องมาย้ำคำเดิม กินอะไรดีน้อ เฮ้อ! เอางี้ล่ะกัน กินอะไรง่าย ๆ แต่แซ่บ ๆ ทำไม่ยาก แค่ขอให้มี “ไข่” จะ ไข่เป็ด ไข่ไก่ ได้หมด และเครื่องปรุงน้ำยำสักหน่อย หรือจะมีออปชั่นเพิ่มพวกผักต่าง ๆ บวกกับรสมือคนทำ รับรอง เมนูยำไข่ ที่นำมาเสนอ ไม่ซ้ำ แถมรสเด็ด จนต้องร้องขอข้าวเพิ่ม! (คำเตือน : อาจไม่เหมาะกับคนลดน้ำหนัก เพราะมันอร่อยจนอาจห้ามใจไม่ตักข้าวเพิ่มได้ลำบาก)  ก่อนจะไปทีเมนูยำ เรามาทำไข่ต้มกันก่อน ซึ่งเลเวลของความเป็นมะตูมของไข่ ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่ใช้ในการต้ม ดังนี้  วิธีต้มไข่ชนิดต่าง ๆ  วิธีต้มไข่ลวก แช่น้ำร้อน 2-5 นาที : ต้มน้ำให้เดือดแล้วใส่น้ำอุณหภูมิห้องลงไป อัตราส่วน 10 / 1 แล้วจึงนำไข่ลงไปแช่จนครบเวลา จะได้ไข่ขาวขุ่นเหมือนวุ้น และในส่วนของไข่แดงยังเยิ้ม  วิธีต้มไข่ออนเซ็น แช่น้ำร้อน […]

9 ทริคง่าย ๆ เรียกสมาธิก่อนทำงาน

ทริค เรียกสมาธิก่อนทำงาน ช่วยเพิ่มสมาธิให้ทำงานเสร็จไวขึ้น หรืออย่างน้อยก็ทำงานได้ตรงตามเวลาที่คิดไว้ มีเทคนิคอะไรบ้าง ไปดูกันเลย

เทคนิคการนอนหลับฉบับนักบินอวกาศ NASA 

การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอนับว่าเป็นเรื่องไม่ดีต่อสุขภาพ แล้วยังทำให้ระบบชีวิตในวันนั้นรวนไปด้วยเช่นกัน จนอาจเสี่ยงเป็นอันตรายต่อชีวิตได้เลยทีเดียว อย่างถ้านอนไม่พอแล้วเกิดหลับโดยไม่รู้ตัวขณะขับรถ หรือขณะที่ทำงานกับเครื่องจักร ย่อมก่อให้เกิดอันตรายทั้งต่อตนเองและผู้อื่นได้อย่างแน่นอน และถ้าหากนอนไม่พอสะสมไปเรื่อย ๆ ยังทำให้เป็นต้นเหตุของการเกิดป่วยด้วยโรคเรื้อรังอื่น ๆ ได้อีกด้วย แต่บางครั้งก็เลี่ยงไม่ได้เนื่องด้วยปัจจัยต่าง ๆ เช่น การเดินทางที่มี time zone ต่างกัน หรือมีเรื่องรบกวนจิตใจ เป็นต้น  เราจึงจะมาชวนดูเทคนิคการนอนหลับให้มีคุณภาพฉบับนักบินอวกาศนาซ่ากันว่าเขาสามารถนอนหลับได้อย่างไร ในขณะที่ต้องทำงานอยู่บนสถานีอวกาศนานาชาติ แล้วต้องเจอกับสภาพแวดล้อมที่ต่างจากตอนอยู่บนพื้นโลกอย่าง พระอาทิตย์ขึ้นถึง 16 ครั้ง / วัน รวมถึงการนอนในสภาวะไร้น้ำหนักในบางช่วงเวลา ซึ่งเทคนิคการนอนหลับที่เราจะนำมาฝากนั้น สามารถใช้ได้แม้แต่กับคนนอนหลับยาก ว่าแล้วไปดูกันเลยดีกว่า กำหนดเวลานอนและตื่นให้ชัดเจน  ปกติร่างกายของเราจะมีระบบ “นาฬิกาชีวิต” ควบคุมการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกายอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นการหลั่งฮอร์โมน การกิน การตื่น หรือการนอน ดังนั้นเมื่อเรานอนไม่เพียงพอ หรือไม่ได้นอน ระบบนาฬิกาชีวิตที่ว่านี้ก็จะผิดปกติไปด้วย ดังที่เรามักจะได้ยินหรือพูดกันบ่อย ๆ ว่า นาฬิกาชีวิตรวน และมันจะส่งผลต่อร่างกายอย่างเห็นได้ชัด คือ มีความเหนื่อยล้า ทรุดโทรม และกลายเป็นโรคนอนไม่หลับ  อย่างในสถานีอวกาศใช้เวลา […]

ชี้พิกัด ลอยกระทงที่ไหนดี 2565

ชี้พิกัด ลอยกระทงที่ไหนดี 2565

เราได้รวบรวมพิกัดที่มีงานลอยกระทงทั่วไทยมาฝากในบทความนี้แล้ว ลอยกระทงที่ไหนดี ใครสะดวกที่ไหนก็เตรียมจัดกระทงไปลอยกันเล๊ย!

วิธีการจัดระเบียบชีวิตเพื่อความสุข ต้องรู้จักบริหารเวลาให้เป็น 

“เวลา” เป็นสิ่งที่มีค่าและเป็นทรัพยากรที่จำกัด เนื่องจากไม่สามารถย้อนเวลากลับไปจัดการสิ่งต่าง ๆ ได้ และมักจะมีบ่อยครั้งที่ได้ยินคนบ่นว่า ไม่มีเวลา ทั้งที่ไม่มีใครมีเวลามากกว่าหรือน้อยกว่า 24 ชั่วโมง ทุกคนมีเวลาเท่า ๆ กัน ไม่ว่าจะเป็นวันนี้ วันพรุ่งนี้ หรือจะเป็นวันไหนก็ตาม แต่ที่ไม่เท่ากันคือ การจัดการเวลาอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งผู้ที่จัดระบบความคิด จัดระเบียบชีวิตได้ดี จะรู้จักแบ่งเวลาได้อย่างเหมาะสม เพราะจะช่วยให้ระบบชีวิตในแต่ละวันมีแบบแผนมากยิ่งขึ้น ช่วยให้บรรลุเป้าหมายในแต่ละวันได้ง่ายขึ้น ในขณะที่คนบริหารเวลาไม่เป็นมักจะพลาดโอกาสในการสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้อย่างน่าเสียดาย  การจัดระเบียบเวลาและใช้ให้คุ้มค่า จะได้ไม่รู้สึกเสียดายเมื่อมองย้อนกลับมา เพราะฉะนั้นเรามาวางแผนการบริหารเวลากันดีกว่า เพื่อให้ประสบความสำเร็จในเป้าหมายควบคู่ไปกับการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข  1. วางแผนในแต่ละวัน  การจะสำเร็จทุกอย่างในชีวิต เริ่มจากความคิดที่เป็นระเบียบ ด้วยการวางแผนก่อนเริ่มต้นวันใหม่ในแต่ละวัน ซึ่งอาจลิสต์รายการที่ต้องการจะทำไว้ล่วงหน้า หรือหลังตื่นนอนในวันนั้นเลย แล้วแต่ความสะดวกของรายบุคคล โดยวางแผนว่ามีเป้าหมายที่จะทำในแต่ละวันว่ามีอะไรบ้าง โดยเริ่มจากสิ่งสำคัญและเร่งด่วนมากที่สุดก่อน เพราะสมองและร่างกายจะมีพลังมากที่สุดหลังจากได้รับการพักผ่อนมาแล้วตลอดคืน เช่น มีนัดประชุม ตรวจสอบเอกสาร หัวข้อ และอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการประชุม หรือวางแผนจะมีสุขภาพที่ดี ก็วางแผนและเขียนจะกินอาหารที่มีประโยชน์อย่างไร ออกกำลังกายอย่างไรในวันนี้ และเมื่อจบวันก็นำแผนที่วางไว้มาเปรียบเทียบกับผลที่เกิดขึ้นจริง ว่าได้ทำตามแผนครบทุกอย่างหรือไม่ มีอะไรที่ปรับเพื่อให้บรรลุเป้าหมายได้อีกบ้าง  2. ตื่นเช้าให้มากขึ้น เพื่อจะได้มีเวลาทำกิจกรรมได้มากขึ้น  หลายคนคงรู้ดีอยู่แล้วว่าการตื่นตอนเช้าหลังจากได้นอนหลับเต็มอิ่มมีประโยชน์อย่างไร ซึ่งนอกจากช่วยให้มีสมาธิดี […]

ปฏิบัติตัวอย่างไรหลังวันที่ 1 ต.ค. เมื่อโควิดถูกลดระดับให้เป็นเพียง “โรคติดต่อเฝ้าระวัง”

เมื่อราชกิจจานุเบกษาประกาศให้ โรคโควิด-19 ลดระดับจาก “โรคติดต่ออันตราย” สู่ “โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง” และมีผลบังคับใช้ วันที่ 1 ตุลาคม 2565 เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคในปัจจุบัน ส่งผลให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายต้องมีการปรับการทำงานให้เหมาะสมตามประกาศนี้ด้วยเช่นกัน 

หายจากโควิดแล้วแต่ยังมีอาการไอ สามารถแพร่เชื้อให้คนอื่นได้ไหม

จะมีการถอดโควิด-19 จากโรคติดต่ออันตราย แล้วย้ายไปอยู่ในหมวดโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558 โดยมีผลวันที่ 1 ตุลาคม 2565 ที่จะถึงนี้แล้ว แต่ก็อาจยังมีอีกหลายคนที่สงสัยว่าคนที่เคยติดโควิด19 แม้จะหายป่วยแล้ว แต่ยังมีอาการไอเรื้อรัง แถมลากยาวไม่หายเสียที ทำให้ห่วงว่าเชื้อโควิดลงปอดไหม หรือเป็นเพียงแค่อาการลองโควิด (Long Covid) เท่านั้น และถ้ายังไออยู่จะสามารถแพร่เชื้อให้คนอื่นได้ไหม โดยเฉพาะเมื่อต้องกลับไปทำงานในห้องแอร์ที่เป็นระบบปิด เรามาหาคำตอบพร้อมกันเลยดีกว่า  อย่างที่รู้กันดีว่าโรคระบาดโคโรนาไวรัสเป็นโรคติดต่อทางระบบทางเดินหายใจ และการไอนั้นเป็นสัญลักษณ์อันเด่นชัดของอาการติดเชื้อโควิด19 และการไอนั้นก็ยังเป็นวิธีการกำจัดเชื้อโรคออกจากร่างกาย ต่อเนื่องมาจากการต่อสู้ของระบบภูมิคุ้มกัน และการต่อสู้ระหว่างภูมิคุ้มกันกับเชื้อโรคนี้เอง ที่ส่งผลให้เนื้อเยื่อในระบบทางเดินหายใจเกิดอาการอักเสบและบวมขึ้นมา โดยอาการเหล่านี้จะค่อย ๆ หายไป เมื่อเชื้อโควิดเริ่มพ่ายแพ้และอ่อนแรง แต่บางคนที่ไม่โชคดีมากนัก เพราะว่าการอักเสบที่ว่ายังคงอยู่ในร่างกาย ทำให้ยังคงมีอาการระคายคอและไอเรื้อรังอยู่นั่นเอง  สำหรับใครที่สงสัยว่าอาการไอเรื้อรังที่ตนเป็นอยู่นี้ คือ อาการลองโควิดหรือไม่ ซึ่งจากการดูสถิติของภาวะและอาการลองโควิด พบว่า การไอเรื้อรัง ก็เป็นอีกหนึ่งในอาการของผู้ป่วยลองโควิดเช่นกัน ซึ่งเป็น 19% ด้วยกันที่ผู้เป็นลองโควิดจะมีอาการไอต่อเนื่องไปอีกอย่างน้อย 2-3 สัปดาห์ หรืออาจนานถึง 180 วัน แม้ว่าจะหายจากการเป็นโควิดแล้วก็ตาม  ไอเรื้อรังเสี่ยงเชื้อโควิดลงปอดหรือไม่  สำหรับผู้ที่เคยติดโควิด19 และรักษาจนหายแล้วในบางราย อาจยังมีรอยต่อของโรคเนื่องมาจากการอักเสบของบริเวณปอดได้ […]

โรคกลัวฝนมีจริงไหม? อาการแพนิคที่หลายคนคาดไม่ถึง

เพื่อนๆ ทราบหรือไม่ว่า “โรคกลัวฝน” มีอยู่จริง เป็นหนึ่งในโรคทางจิตเวชที่ต้องคอยสังเกต เพื่อเป็นแนวทางในการรับมือยามฝนตก

ระวัง! 5 ภัยร้าย ในหน้าฝน

เมื่อเข้าสู่ช่วงฤดูฝนมาอีกแล้ว ไม่เพียงแต่สายฝนเย็นชุ่มฉ่ำ แต่ยังพัดพาโรคประจำฤดูฝน และภัยอันตรายต่างๆ มาด้วยนี่สิ เราทุกคนรู้กันดีอยู่แล้ว สภาพอากาศชื้นๆ แบบนี้ ย่อมจะเสี่ยงภัยต่อสุขภาพ และการบาดเจ็บ ทำให้เราต้องดูแลสุขภาพ และระวังภัยต่างๆ กันเป็นพิเศษ มีอะไรบ้าง มาเช็คกันหน่อย เพื่อเตรียมรับมือในการป้องกัน 

กำจัดเศษอาหารทิ้งในบ้าน ช่วยลดโลกร้อนได้อย่างไร 

ภัยธรรมชาติ ที่นับวันยิ่งทวีความรุนแรงและเกิดขึ้นถี่ทั่วมุมโลก ไม่ว่าจะเป็นข่าวน้ำท่วม แผ่นดินไหว พายุดีเปรสชั่น พายุโซนร้อน อากาศร้อนจนมีผู้เสียชีวิต หิมะตกในประเทศโซนร้อน ฯลฯ จึงต้องยอมรับว่าตอนนี้ระบบธรรมชาติกำลังผิดปกติ โดยความผิดปกตินี้เนื่องมาจากผลกระทบของ “ภาวะโลกร้อน” (Global Warming)